น้ำมันดิบใช้งานอย่างไรได้บ้าง?

น้ำมันดิบ

เมื่อเอ่ยถึง “น้ำมันดิบ” หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ “น้ำมันปิโตรเลียม” ที่มนุษย์เราใช้ในการทำหลายๆ สิ่งแต่ท่านทราบกันมั้ยหล่ะครับว่า ที่มาของน้ำมันดิบเหล่านี้มาจากไหน ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ประเทศไทยมีแหล่งน้ำมันดิบของตนเองมั้ย บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปหาคำตอบกันครับ

ทำความรู้จักกับ “น้ำมันดิบ” ว่ามาจากไหน

น้ำมันดิบเกิดจากการทับทนกันของซากพืซซากสัตว์ที่ใช้เวลาหลายล้านปิใต้ชั้นบาดาลและใต้ดิน ซึ่งสามารถนำมากลั่นใช้เป็นสารเคมีต่างๆ และใช้เป็นน้ำมันปิโตรเลียม เชื้อเพลิงจากธรรมชาติแบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ

●น้ำมันดิบ (Crude Oil) 

น้ำมันดิบประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนชนิดระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ตามคุณสมบัติและชนิดของไฮโดรคาร์บอน
– น้ำมันดิบชนิดที่ไม่มีไขมาก (paraffin base).
– น้ำมันดิบชนิดที่มียางมะตอยมาก (asphalt/naphthenic base)
– น้ำมันดิบชนิดผสม (mixed base) เป็นน้ำมันดิบพื้นฐานชนิดผสมกันระหว่างชนิดมีไขมากและชนิดที่มียางมะตอยมาก

โดยลักษณะทางกายภาพของน้ำมันดิบโดยทั่วไปจะมีสีดำหรือสีน้ำตาล มีกลิ่นคล้ายน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป เมื่อน้ำมันดิบรวมอยู่กับน้ำ น้ำมันดิบจะลอยอยู่เหนือน้ำเสมอ

          ภายหลังจากผ่านกระบวนการกลั่นน้ำมันแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์น้ำมันต่างๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ รถยนต์ รวมทั้งเตาเผา และเตาอบต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินใบพัดและน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น เป็นน้ำมันก๊าด เป็นส่วนผสมของยาฆ่าแมลง สีทาบ้าน น้ำมันชักเงา น้ำยาทำความสะอาด เป็นเชื้อเพลิงบ่มยาสูบ อบพืชผลและใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิก

●ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)  

 โดยทั่วไปสามารถแบ่งหลักๆ ได้ 2 ประเภท ดังนี้

– Dry gas หมายถึงแก๊สธรรมชาติที่ไม่มีส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติเหลว (condensate) มีแต่แก๊สมีเทนเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำให้มีราคาสูงกว่าแก๊สธรรมชาติชนิดอื่นๆ
– Wet gas หมายถึง แก๊สธรรมชาติที่มีส่วนประกอบหลักเป็นพวกแก๊สธรรมชาติเหลว ได้แก่ โพรเพน บิวเทน เพนเทน และเฮกเซน แก๊สเหล่านี้จะกลายเป็นของเหลวได้ง่ายที่อุณหภูมิต่ำและความดันสูง ทาให้เกิดปัญหาในการขนส่งชนิดของก๊าซธรรมชาติ  ก๊าซมีเทนใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบสาหรับการผลิตปุ๋ย และอัดใส่ถังใช้เป็นเชื้อเพลิงรถโดยสาร เอ็นจีวี ( Natural gas for vehicles – NGV) อีเทน และโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied petroleum gas – LPG) ซึ่งประกอบด้วยโพรเพนและบิวเทน ใช้เป็นเชื้อเพลิงหุงต้ม เชื้อเพลิงสำหรับรถและอุตสาหกรรม แก๊สโซลีนธรรมชาติ (Natural gas liquid – NGL) ส่งเข้าโรงกลั่นเพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเบนซินแก๊สธรรมชาติ

กลั่นน้ำมันดิบออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใดบ้าง?

1. ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือเรียกอีกอย่างว่า ก๊าซหุงต้ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ดี ให้ความร้อนสูง สะอาด ไม่มีสีและกลิ่น แต่มีการเติมกลิ่นลงไป เพื่อความปลอดภัย โดยให้สังเกตง่ายเมื่อมีการรั่วไหล

2. แนฟทาเบา ใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยนำไปผลิตเมล็ดพลาสติก เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อีกมากมาย เช่น พลาสติก ยางสังเคราะห์ เส้นใยสังเคราะห์ ยางสังเคราะห์ วัตถุดิบสี สารซักฟอก เป็นต้น

3. แนฟทาหนัก ใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์เบนซิน โดยได้เติมสารเพิ่มคุณภาพ เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ค่าออกเทน สารป้องกันสนิมและการกัดกร่อน เป็นต้น

4. น้ำมันก๊าด ใช้สำหรับให้พลังงานความร้อนและแสงสว่าง แต่ได้ปรับปรุงเพื่อให้มีคุณภาพดีขึ้น เพื่อใช้สำหรับเป็นน้ำมันเครื่องบิน โดยมีความสะอาด บริสุทธิ์ เเละมีคุณสมบัติดีกว่าน้ำมันก๊าด

5. น้ำมันดีเซล ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เช่น รถขนส่งทั้งสินค้าและผู้คน รวมถึงรถทางการเกษตร เช่น รถไถนา รถขุดดิน เป็นต้น

6. น้ำมันหล่อลื่น / จารบี นำมาใช้เป็นสารเคลือบผิวชิ้นส่วนโลหะ เพื่อลดการเสียดสีและสึกหรอ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันไฮดรอลิค เป็นต้น รวมไปถึงการได้เป็นผลิตภัณฑ์ขี้ผึ้งจากปิโตรเลียม (Petroleum Wax) เพื่อนำมาใช้ผลิตปิโตรเลียมเจล ลิปสติก และเทียนไขได้อีกด้วย

7. น้ำมันเตา นิยมใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงเรือเดินทะเล

8. ยางมะตอย เป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่ส่วนล่างสุดของหอกลั่น มีความเหนียว ยืดหยุ่น ทนทานต่อสภาพอากาศและแรงกระแทก จึงนิยมนำมาราดผิวถนน ทางวิ่งเครื่องบิน รวมทั้งนำมาเป็นวัสดุกันซึมได้อีกด้วย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “น้ำมันดิบใช้งานอย่างไรได้บ้าง?”ที่เราด้หาข้อมูลและคำตอบมาให้กับท่านผู้อ่านที่สนใจกัน หวังว่าจะเป็นข้อมูลที่ดีไม่มากก็น้อยกันนะครับ

You May Also Like

Sleeping in a Tent

การนอนเต็นท์จะช่วยทำให้เพลิดเพลินได้จริงไหม

พลังงานน้ำ

หลักการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ

พลังงานคลื่นทะเล

หลักการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่นทะเล

พลังงานลม

หลักการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม